ดอกเบี้ยเงินกู้มีอัตราดอกเบี้ยหลักๆ 2 ประเภท คือ
1.อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) คืออัตราดอกเบี้ยที่คงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้ กำหนดโดยธนาคาร หรือสถานบันการเงินผู้ให้บริการ
2.อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) คืออัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ธนาคารกำหนดตามต้นทุนของธนาคารในช่วงเวลาต่างๆ จะประกาศอยุ่เรื่อยๆ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่เราได้ยินกันบ่อยๆ จะมีคำว่า MLR, MOR และ MRR นั่นเองครับ โดยที่แต่ละธนาคารจะมีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่ไม่เท่ากัน
- MLR, MOR และ MRR ต่างกันอย่างไร?
MOR (Minimum Overdraft Rate) คือ ดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรีบกเก็บจากลูกหนี้ที่เรียกเบิกเกินบัญชี ซึ่งส่วนมากจะเป็นลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีเช่นกัน
MRR (Minimum Retail Rate) คือ ดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี อาทิ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเหล่านี้
- ตามกฏของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ต้องทำการประกาศอย่างชัดเจนเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ทั้งที่สาขาใหญ่ สาขาย่อย และเว็บไซต์ของธนาคาร
- อัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ของแต่ละธนาคารไม่จำเป็นต้องเท่ากัน เพราะแต่ละธนาคารมีต้นทุนในการบริหารงานไม่เท่ากัน อาทิ ดอกเบี้ยเงินฝากต่างกัน จำนวนเงินฝากต่างกัน ผลการดำเนินงานต่างกัน
- ลูกค้าแต่ละคน อาจจะได้อัตราดอกเบี้ยในสัญญาเงินกู้ต่างกัน ถึงแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อเกียวกัน ธนาคารเดียวกัน เพราะธนาคารจะพิจารณาความเสี่ยงของผู้สมัครเงินกู้แต่ละคนแตกต่างกันออกไป
- สำหรับสินเชื่อของบัตรกดเงินสดนั้น มีการกำหนดออกมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ ว่า จะต้องใช้อัตราสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภครวมเบี้ยปรับในการชำระล่าช้า ซึ่งกำหนดไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 28% ต่อปีเท่านั้น โดยแตกต่างกันไปในลูกค้าแต่ละราย ตามฐานรายได้ วงเงิน และโปรโมชั่นของธนาคารพาณิชย์นั้นๆ ในแต่ละช่วงของแต่ละปี
ที่มา https://www.gobear.co.th/blog/detail/interest-type
0 ความคิดเห็น